การจัดงานสัมมนาออนไลน์ “3D Printing Technology to Future Composite Manufacturing” วันที่ 22 มิ.ย. 64
สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=D9kq40T4IP4
เทคโนโลยีวัสดุคอมโพสิตขั้นสูง (Advanced Composite Materials) และ เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing) กำลังมีบทบาทสำคัญกับอุตสาหกรรมหลากหลายด้านในประเทศ มีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนอากาศยาน อุปกรณ์ทางการทหารและการป้องกันประเทศ ชิ้นส่วนการผลิตหุ่นยนต์และเครื่องจักรระบบอัตโนมัติ โครงสร้างยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ และครื่องมือการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุคอมโพสิตอีกหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมสันทนาการและกีฬา อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในโรงงานและการเกษตร เป็นต้น โดยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุคอมโพสิตจะทำให้ชิ้นงานมีความแข็งแรง คงทน สามารถนำไปใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรม ช่วยลดระยะเวลาของกระบวนการผลิตต้นแบบทั้งงานที่ออกแบบใหม่และงาน Redesign และยังสามารถสร้างต้นแบบงานภาคอุตสาหกรรมเฉพาะทางได้มากขึ้น
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อวท.) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการออกแบบและสร้างต้นแบบนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเพื่อให้ออกสู่เชิงพาณิชย์ จึงได้จัดสัมมนา “3D Printing Technology to Future Composite Manufacturing” ขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ อันจะช่วยส่งเสริมและสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกอย่างสมบูรณ์
ระยะเวลาและสถานที่ในการสัมมนา : วันที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น. ผ่านระบบ webex meeting
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา
เจ้าของกิจการ ทายาทธุรกิจ ผู้บริหาร บุคคลากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักร และอุตสาหกรรมอื่นๆ ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในกระบวนการผลิตต้นแบบชิ้นงาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตทราบถึงโครงการ และเทคโนโลยี Composite 3D Printing
- เพื่อขับเคลื่อนและเตรียมพร้อมผู้ประกอบการให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมภาคการผลิต ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกอย่างสมบูรณ์
สิ่งที่จะได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนานี้
- ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยีนวัตกรรมการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุคอมโพสิต (Composite Trends) ที่จะนำมาใช้กับกระบวนการออกแบบและการสร้างต้นแบบชิ้นงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมและการประยุกต์ใช้ และกรณีศึกษา
- ได้รับแนวคิดและโอกาสทางธุรกิจในการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุคอมโพสิต มาพัฒนาธุรกิจของตนเอง
- โอกาสในการเข้าถึงบริการของ สวทช. และหน่วยงานในเครือข่าย เช่น ได้รับคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ การเข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมหน่วยงานในเครือข่าย สวทช. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งโอกาสในการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
กำหนดการสัมมนา
“3D Printing Technology to Future Composite Manufacturing”
โดย ศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช.
ร่วมกับ สมาคมไทยคอมโพสิท
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องสัมมนา งาน INTERMACH 2021 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
12.30 – 13.00 น.
ลงทะเบียนผู้ประกอบการ
13.00 – 14.00 น.
บรรยายเทรนด์ของเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุคอมโพสิต
(Update Composite Trends)
โดยวิทยากร ดร.คมกฤช ภิงคารวัฒน์ นักวิจัย แผนก Frontier Research
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
14.00 – 15.30 น.
เสวนา 3D Printing Technology to Future Manufacturing
เสวนาสร้างแรงบันดาลใจและชี้ให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจจากหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการที่จะสนับสนุน แลกเปลี่ยนความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ ในการใช้ประโยชน์จาก 3D Print ในการพัฒนาธุรกิจ
- รศ.ดร.สนติพีร์ เอมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. และอดีตนายกสมาคมไทยคอมโพสิท
- ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป นักวิจัยอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช.
- คุณวรวรรธน์ วรรธนะโกวินท์ กรรมการบริษัท บริษัท เซปทิลเลียน จำกัด ผู้จัดจำหน่ายและซ่อมบำรุงเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มากกว่า 50 แบบ และให้คำแนะนำกับอุตสาหกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ
- คุณจิระวุฒิ จันเกษม นักวิจัย ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวัสดุ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ผู้ค้นคว้าพัฒนาวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ดำเนินรายการโดย คุณจิรพร ศุภจำปิยา ผู้จัดการศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) สวทช.
15.30 – 16.00 น.
ถาม – ตอบ